Last updated: 23 ต.ค. 2567 | 2129 จำนวนผู้เข้าชม |
SME (Small and Medium Enterprises) หมายถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งในประเทศไทย
แต่ละกลุ่มธุรกิจจะถูกจำแนกผ่านตามจำนวนการจ้างงานและจำนวนสินทรัพท์ ธุรกิจ SME ที่อยู่ในเกณฑ์รายได้
และเกณฑ์ทุนจดทะเบียนตามกรมสรรพากรก็จะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งการแยกระหว่างวิสาหกิจขนาดเล็ก
และขนาดกลางจะเป็นดังนี้
การแยกประเภทของวิสาหกิจขนาดเล็ก
การผลิต: สินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 50 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ไม่เกิน 50 คน
การบริการ: สินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 50 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ไม่เกิน 50 คน
การค้าส่ง: สินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 50 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ไม่เกิน 25 คน
การค้าปลีก: สินทรัพย์ถาวร ไม่เกิน 50 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ไม่เกิน 15 คน
การแยกประเภทของวิสาหกิจขนาดกลาง
การผลิต: สินทรัพย์ถาวร ระหว่าง 51-200 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ระหว่าง 51-200 คน
การบริการ: สินทรัพย์ถาวร ระหว่าง 51-200 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ระหว่าง 51-200 คน
การค้าส่ง: สินทรัพย์ถาวร ระหว่าง 51-100 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ระหว่าง 26-50 คน
การค้าปลีก: สินทรัพย์ถาวร ระหว่าง 31-60 ล้านบาท, จำนวนพนักงาน ระหว่าง 16-30 คน
วิธีแยก SME แบบนี้ทางรัฐบาลอาจจะใช้ในการคัดกรองธุรกิจเพื่อทำการช่วยเหลือหรือเยียวยาในเวลาที่จำเป็น
(ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดแต่ละโครงการ) เป็นการกำหนดลักษณะธุรกิจ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ.2543
17 ก.ย. 2567
1 ธ.ค. 2567
17 ก.ย. 2567
4 ธ.ค. 2567